วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สื่อที่ดีต้องมีการพัฒนา

สื่อที่ดีต้องมีการพัฒนา

การเรียนรู้ในห้องเรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพนั้นนอกจากจะใช้ตำราเรียนแล้ว ยังต้องใช้สื่อการเรียนรู้ในการประกอบการเรียนรู้ด้วย สื่อการเรียนรู้ช่วยให้ผู้สอนประหยัดเวลาในการสอน และเปรียบเสมือนผู้ช่วยครู ดังนั้นหากสื่อการเรียนรู้ไม่มีความสมบูรณ์ก็อาจจะทำให้ใช้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อให้สื่อมีความสมบูรณ์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาสื่อในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง "วงจรสี" แต่ก่อนที่จะพัฒนาปรับปรุงสื่อก็ต้องมีการประเมินสื่อการเรียนรู้เพื่อให้ได้รู้ถึงข้อจำกัดของสื่อ

สื่อการเรียนรู้ที่ศึกษา : สื่อการเรียนรู้ชุดโมดูล เรื่อง "วงจรสี"

วัตถุประสงค์ของสื่อ  : เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักวงจรสี และได้เรียนรู้ที่มาของสีต่างๆ สามารถผสมสีได้อย่าง                    ถูกต้อง และสามารถนำความรู้เรื่องวรจรสีไปใช้ในโอกาสต่างๆได้ตามความเหมาะสม

ข้อจำกัดของสื่อ       : แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการวัดผลการเรียนรู้จากสือ ยังไม่มีความน่าสนใจ เป็นเพียงข้อสอบปรนัยที่มีตัวเลือกให้กากบาทเท่านั้น

สิ่งที่ปรับปรุง            : แผ่นวงจรสี

วัตถุประสงค์            : เพื่อให้การเรียนรู้มีกิจกรรมที่สนุกสนานเพิ่มขึ้น และยังสามารถใช้กระดานวงจรสีเป็นแบบทดสอบการเรียนรู้แทนการทำข้อสอบเพียงอย่างเดียวได้

จากภาพเป็นตัวอย่างแผ่นวงจรสีที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงสื่อให้มีกิจกรรมเพิ่มขึ้น แล้วยังสามารถใช้เป็นแบบทดสอบความรู้เรื่องวงจรสีได้อีกด้วย
วิธีเล่นคือให้นำเหรียญแต่ละสีมาวางลงบนวงกลมสีขาวที่อยู่ระหว่างแม่สีทั้งสามให้ถูกต้อง

สรุป  - ถึงแม้ว่าแผ่นวงจรสีที่ได้จัดทำขึ้นใหม่เพื่อปรับปรุงสื่อจะมีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ก็สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความอยากรู้ และอยากทดลองทำ ช่วยให้เกิดความรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน แล้วยังใช้แทนแบบทดสอบโดยการให้ผู้เรียนเล่นแผ่นวงจรสี แล้วประเมินผลด้วยการสังเกตว่าผู้เรียนวางเหรียญแต่ละสีได้อย่างถูกต้องหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น