วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

All about Infographic

ในยุคปัจจุบันนี้เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีให้เลือกรับข้อมูลมากมายทั้งจากการดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ อ่านหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือแม้แต่ข้อมูลที่ได้จากการพูดคุย แต่ยิ่งได้รับข้อมูลมากขึ้นเท่าไรก็จะยิ่งทำให้จดจำ
และเข้าใจได้ยากขึ้น ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ไม่อยากรับรู้ข้อมูลใดๆทั้งสิ้น จึงได้มีการจัดทำ Infographic ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายมารวมกันแล้วจัดหมวดหมู่เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆให้เป็นระบบระเบียบ ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น นอกจากจะมีการจัดเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบแล้วยังมีการแต่งเติมสีสันและใส่ภาพประกอบช่วยให้เกิดความสวยงามและน่าสนใจกว่าเดิม
ภาพด้านบน เป็นตัวอย่างอินโฟกราฟฟิคที่ผมได้ทำขึ้นมาเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้อ่านได้เห็นว่า อินโฟกราฟฟิคนั้นจะมีการเรียบเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ ชัดเจน อ่านง่าย และมีสีสันที่ช่วยดึงดูดความสนใจ ไม่ทำให้น่าเบื่ออีกด้วย





จากภาพ สามารถสรุปได้ว่า infographic (อินโฟกราฟฟิค) คือการนำ
ข้อมูลที่กระจัดกระจาย(data)มาจัดหมวดหมู่(sorted)แล้วนำมาเรียงลำดับอย่างเป็นระเบียบ(ARRENGED) แล้วมานำเสนอด้วยอินโฟกราฟฟิคที่สวยงามให้ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบ


วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สื่อที่ดีต้องมีการพัฒนา

สื่อที่ดีต้องมีการพัฒนา

การเรียนรู้ในห้องเรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพนั้นนอกจากจะใช้ตำราเรียนแล้ว ยังต้องใช้สื่อการเรียนรู้ในการประกอบการเรียนรู้ด้วย สื่อการเรียนรู้ช่วยให้ผู้สอนประหยัดเวลาในการสอน และเปรียบเสมือนผู้ช่วยครู ดังนั้นหากสื่อการเรียนรู้ไม่มีความสมบูรณ์ก็อาจจะทำให้ใช้ได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อให้สื่อมีความสมบูรณ์และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การพัฒนาสื่อในบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่อง "วงจรสี" แต่ก่อนที่จะพัฒนาปรับปรุงสื่อก็ต้องมีการประเมินสื่อการเรียนรู้เพื่อให้ได้รู้ถึงข้อจำกัดของสื่อ

สื่อการเรียนรู้ที่ศึกษา : สื่อการเรียนรู้ชุดโมดูล เรื่อง "วงจรสี"

วัตถุประสงค์ของสื่อ  : เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักวงจรสี และได้เรียนรู้ที่มาของสีต่างๆ สามารถผสมสีได้อย่าง                    ถูกต้อง และสามารถนำความรู้เรื่องวรจรสีไปใช้ในโอกาสต่างๆได้ตามความเหมาะสม

ข้อจำกัดของสื่อ       : แบบทดสอบที่นำมาใช้ในการวัดผลการเรียนรู้จากสือ ยังไม่มีความน่าสนใจ เป็นเพียงข้อสอบปรนัยที่มีตัวเลือกให้กากบาทเท่านั้น

สิ่งที่ปรับปรุง            : แผ่นวงจรสี

วัตถุประสงค์            : เพื่อให้การเรียนรู้มีกิจกรรมที่สนุกสนานเพิ่มขึ้น และยังสามารถใช้กระดานวงจรสีเป็นแบบทดสอบการเรียนรู้แทนการทำข้อสอบเพียงอย่างเดียวได้

จากภาพเป็นตัวอย่างแผ่นวงจรสีที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อปรับปรุงสื่อให้มีกิจกรรมเพิ่มขึ้น แล้วยังสามารถใช้เป็นแบบทดสอบความรู้เรื่องวงจรสีได้อีกด้วย
วิธีเล่นคือให้นำเหรียญแต่ละสีมาวางลงบนวงกลมสีขาวที่อยู่ระหว่างแม่สีทั้งสามให้ถูกต้อง

สรุป  - ถึงแม้ว่าแผ่นวงจรสีที่ได้จัดทำขึ้นใหม่เพื่อปรับปรุงสื่อจะมีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ก็สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความอยากรู้ และอยากทดลองทำ ช่วยให้เกิดความรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน แล้วยังใช้แทนแบบทดสอบโดยการให้ผู้เรียนเล่นแผ่นวงจรสี แล้วประเมินผลด้วยการสังเกตว่าผู้เรียนวางเหรียญแต่ละสีได้อย่างถูกต้องหรือไม่

วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

บทวิเคราะห์สื่อการเรียนรู้



บทวิเคราะห์ สื่อการเรียนรู้



สำหรับบทความนี้ เป็นบทวิเคราะห์สื่อการเรียนรู้ โดยจะนำสื่อการเรียนรู้ชุด "ปราบคราบ...พิชิตความสะอาด" มาวิเคราะห์ว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างไร มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรบ้าง



สื่อการเรียนรู้ชุด "ปราบคราบ...พิชิตความสะอาด" เป็นสื่อการเรียนรู้ในรายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษา เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การขจัดคราบอย่างถูกวิธี โดยมีอุปกรณ์การเล่นคือ กระดานขจัดคราบ ตำราขจัดคราบ และแผ่นเชื่อมโยงการขจัดคราบ




         "วิธีการเล่น"
มีวิธีการเล่นที่ง่ายๆคือ ถ้าอยากรู้ว่าการขจัดคราบแต่ละชนิดนั้นมีวิธีการอย่างไรก็เพียงแค่กดปุ่มที่เป็นชื่อคราบบนกระดานขจัดคราบ เมื่อมีไฟสว่างขึ้นที่ตัวเลขก็คือเลขหน้าของตำราขจัดคราบ เพียงแค่นี้ก็ได้รู้จักการขจัดคราบอย่างถูกวิธีแล้ว ส่วนแผ่นเชื่อมโยงการขจัดคราบ ก็คือแบบทดสอบความรู้ โดยให้ผู้เรียนเชื่อมโยง ประเภทของคราบให้ตรงกับวิธีการขจัดคราบนั่นเอง

บทวิเคราะห์



สื่อการเรียนรู้ชุดนี้มีการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม และมีการออกแบบที่ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา สื่อมีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียน และตรงตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้คือ ให้ผู้เรียนได้รู้จักการขจัดคราบอย่างถูกวิธี สื่อมีการออกแบบให้มีรูปการ์ตูนที่น่ารักและมีกระดานขจัดคราบที่คอยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยใคร่รู้ เมื่อได้กดปุ่มขจัดคราบก็ทำให้ผู้เรียนเกิดความสงสัยและต้องค้นหาต่อไปว่าวิธีการขจัดคราบแต่ละชนิด มีวิธีการอย่างไรบ้าง นอกจากสื่อจะมีความน่าสนใจและดึงดูดผู้เรียนแล้วก็ยังมีการติดตามผลการเรียนรู้ด้วยการทำแบบทดสอบคือ แผ่นเชื่อมโยงการขจัดคราบ โดยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงชนิดของคราบกับการขจัดคราบที่ถูกวิธี สื่อการเรียนรู้ชุดนี้ นอกจากช่วยฝึกความจำแล้วยังฝึกให้ผู้เรียนมีสมาธิด้วย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างคือ สื่อการเรียนรู้ไม่มีความคงทนมากพอ และมีขนาดใหญ่ทำให้พกพาได้ไม่สะดวกและมีขนาดที่ใหญ่เกินไปสำหรับผู้เรียนในวัยประถม